ครูบาศรีวิชัย ชีวประวัติครูบาศรีวิชัย ตำนานเกจินักสร้างแห้งล้านนา
ครูบาศรีวิชัย พระเกจิที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระผู้สร้าง อุทิศตน อุทิศแรงกาย เพื่อประโยชน์สาธารณชน ที่โด่งดังในภาคอีสานก็จะเป็นหลวงพ่อคูณ หลวงปู่ฝั้น ถ้าทางภาคเหนือก็ต้องยกให้ ครูบาศรีวิชัย ( อินท์เฟือนสีวิเชยฺย ) ที่นอกจากจะมีชื่อเสียงเรื่อง การทำนุบำรุงศาสนสถานในภาคเหนือแล้ว ท่านก็ยังเป็นผู้ที่พยายาม นำคำสอนของพุทธศาสนาไปเผยแผ่ นี่จึงทำให้ท่านได้รับสมญานามว่า “ตนบุญแห่งล้านนา” ถือเป็นพระผู้ที่มีความเกี่ยวพัน
กับประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ครูบานักบุญแห่งล้านนาไทยจังหวัดเชียงใหม่ แต่นอกจากบทบาททางศาสนาแล้ว ท่านก็ยังมีบทบาทด้านการเมืองการปกครอง จนทำให้ช่วงสุดท้ายของชีวิต ของท่านเองต้องตกเป็นจำเลย จนเกือบถูกจับสึกมาแล้วก็มี โหลดเกมส์
Kruba Sri Wichai เปิดประวัติความเป็นมา
“หากน้ำปิงไม่ไหลย้อนขึ้นเหนือ จักไม่ขอเหยียบนครเชียงใหม่” ว่ากันว่านี่เป็นคำกล่าวของ อินท์เฟือนสีวิเชยฺย ครูบาศรีวิชัย ที่ได้กล่าวกับหลวงศรีประภาส ซึ่งในขณะนั้นเป็น สส.จังหวัดเชียงใหม่ โดยเกิดขึ้นตอนที่ท่านได้สร้าง ทางขึ้นดอยสุเทพจนสำเร็จ ครูบานักบุญแห่งล้านนาไทยจังหวัดเชียงใหม่ แต่น่าเสียดายที่ถูกกล่าวหา และถูกกลั่นแกล้ง โดยคณะสงฆ์ที่ยัดเยียด ให้ท่านเป็นคนผิด แม้ครูบาฯจะมีคุณูปการต่อ จังหวัดเชียงใหม่
แต่แท้ที่จริงนั้น บ้านเกิดท่านอยู่ที่จังหวัดลำพูน ชาวบ้านเรียกท่านว่า “พระสีวิไชย” ต้นตระกูลของฝั่งบิดา เป็นหมอคล้องช้างชาวกะเหรี่ยงแดง ส่วนต้นตระกูลของมารดา คาดว่ามีเชื้อสายของกะเหรี่ยงขาว
แต่ท่านออกบวช เพราะคิดว่าที่ตนเอง ยากจนข้นแค้นนั้น อาจเป็นเพราะในอดีต ไม่ได้สั่งสมบุญบารมีไว้มากพอ จึงคิดตอบแทนพระคุณบิดามารดา ด้วยการบวช แต่ก็มีตำนานเล่าว่า ก่อนที่จะออกบวชนั้น สมัยท่านเป็นเด็กชายอินตาเฟือน (อ้ายฟ้าร้อง) นั่งเล่นอยู่หน้าบ้านเพียงลำพัง ก็ได้เห็นพระธุดงค์รูปหนึ่ง เดินผ่านบ้านไป อินตาเฟือนจึงได้ประนมมือไหว้ พระธุดงค์รูปดังกล่าว พร้อมมีใจอยากออกบวช ครั้นพระธุดงค์รูปนั้น หันมาเห็น
เด็กชายก้อน นิมิตเห็นเงาเหมือนกลดอยู่ข้างเด็กชาย พระธุดงค์จึงได้บอกออกไปว่า หากอินตาเฟือนได้ออกบวช จะเป็นพระผู้โด่งดัง และสร้างคุณูปการใหญ่หลวง ให้กับประเทศชาติ เมื่ออายุได้ 18 ปีก็บวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่าเรียน จนอายุ 21 ปีก็ได้อุปสมบทที่บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน และได้ฉายาว่า สีวิเชยยฺ พระสีวิไชยฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว ละเว้นจากการฉันหมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ ซึ่งอาหารที่ท่านฉันเป็นประจำ ก็มักจะเป็นผักต้มกับเกลือ หลวงพ่อทวด
ผลงานของครูบาศรีวิชัย ครูบาศรีวิชัยเด่นด้านใด ครูบาศรีวิชัยโดนคดีอะไร
ผลงานของครูบาศรีวิชัย ด้วยมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งท่าน อินท์เฟือนสีวิเชยฺย เป็นพระที่มักจะ ทำการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถาน การทำถนน เพียงแค่ท่านเอ่ยปากว่า จะเป็นผู้นำในการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คลื่นมหาชนก็จะหลั่งไหลมาสมทบ เพื่อร่วมสร้างแบบไม่ขาดสาย ผลงานโดดเด่นที่ทำให้ชาวล้านนา เลื่อมใสศรัทธาท่านมากยิ่งขึ้น ก็คือการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ใช้เวลาในการสร้างเพียง 5 เดือนเศษเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นแรงกาย และกำลังทรัพย์ล้วนมาจาก ประชาชนคนธรรมดา ไม่ใช่งบประมาณของรัฐบาล จึงขึ้นชื่อว่าท่านเป็น ผู้บุกเบิกเส้นทางไปยังดอยสุเทพ ระยะทาง 11.53 กม. ครูบานักบุญแห่งล้านนาไทยจังหวัดเชียงใหม่
ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือพระ เมื่อโดดเด่นเกินไป ก็มักจะชักนำภัยมาสู่ตนเอง ซึ่งมีพระสังฆาธิการในล้านนา ตั้งข้อหาว่าท่านอวดอิทธิฤทธิ์ เป็นพระที่มีการซ่องสุม กำลังคนที่อาจจะ ก่อการกบฏต่อบ้านเมือง เป็นผีบุญ ซึ่งถือเป็นข้อหา ร้ายแรงมากในขณะนั้น โดยถูกมองว่าเป็นปฏิปักษ์ ต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วท่านถูกคณะสงฆ์ พากันกลั่นแกล้ง ว่าทำการตัดไม้ทำลายป่า มีการบวชพระบวชเณร โดยไม่ได้รับอนุญาต
ตั้งตัวเป็นหัวหน้าคณะชักชวนให้วัดหลายแห่ง ลาออกจากการปกครองของคณะสงฆ์ มาขึ้นตรงต่อท่าน แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถ เอาผิดท่านได้ เพราะมีคำอธิบายอย่างชัดเจน ท่านต้องต่อสู้เพียงลำพัง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก ผู้นำเชียงใหม่ถึงขั้นต้องลั่นวาจาว่า จะไม่กลับมาเหยียบเชียงใหม่อีกเลย
ครูบาศรีวิชัยเกิดที่ไหน ครูบาศรีวิชัยเป็นคนจังหวัดอะไร ครูบาศรีวิชัยอายุเท่าไร
ครูบาฯ อินท์เฟือนสีวิเชยฺย เคยถูกกักบริเวณที่วัดเบญฯ เป็นระยะเวลากว่าครึ่งปี น่าเสียดายยิ่งนักที่ประชาชนชาวเชียงใหม่ ไปรอท่านอยู่ที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ กลับไม่ได้เจอท่านเพราะครูบาฯ ลั่นวาจาเอาไว้แล้วว่า จะไม่มาเหยียบเชียงใหม่อีก ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีจุดหมายปลายทาง เป็นลำพูนบ้านเกิดของท่าน ซึ่งก็คือวัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน จนกระทั่งถึง ช่วงสุดท้ายของชีวิต
เมื่อชาวเชียงใหม่ที่ศรัทธา ในตัวท่านทราบเรื่องข่าวการอาพาธ ก็ได้เดินทางมาพร้อมกับรถ เพื่อนิมนต์ท่านไปรักษาตัวที่เชียงใหม่ แม้ที่นั่นจะมีโรงพยาบาลที่ทันสมัย แต่ท่านกลับปฏิเสธ เพราะได้ลั่นวาจาแล้วว่า จะไม่มาเชียงใหม่อีกเลย ทำให้ลูกศิษย์ต้องนำหมอจากโรงพยาบาล มารักษาท่านที่ลำพูน แต่ปัญหาร่างกายของท่านก็คือ ท่านทำงานหนัก เดินธุดงค์ทั่วภพภูมิภาค นั่งภาวนาบนโขดหินหรือพื้นดิน โดยไม่มีอาสนะรองรับ จึงทำให้ท่านมีปัญหา
ริดสีดวงทวารตามมา และท่านก็สิ้นลมด้วยอายุ 60 ปี 9 เดือน ส่วนวันที่ท่านละสังขารนั้น ในตำราของล้านนา ใช้วิธีการนับวันเดือนปี ไม่เหมือนกับของไทย ครูบานักบุญแห่งล้านนาไทยจังหวัดเชียงใหม่ แต่คาดว่าน่าจะมรณภาพในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 รวมพรรษา 39 พรรษา
ครูบาศรีวิชัย เหรียญพระครูบาศรีวิชัย ที่คนไทยนิยมมีรุ่นไหนบ้าง
เหรียญพระครูบาศรีวิชัย พระภิกษุที่ขึ้นชื่อว่า เป็นพระผู้สร้างคุณูปการและ เป็นที่รักของสาธุชน ก็มักจะมีการแจกเครื่องรางของขลัง ให้กับประชาชนผู้บริจาคทรัพย์สิน ในการมาร่วมบำเพ็ญสาธารณะ อีกทั้งมีตำนานกล่าวว่า อินท์เฟือนสีวิเชยฺย ครูบาฯสนใจเรื่องวิชาอาคม และที่บริเวณขาของท่าน ครูบานักบุญแห่งล้านนาไทยจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีการสักหมึกดำทั้งคู่ เครื่องรางของท่านที่โด่งดังมากที่สุด ก็ต้องยกให้เหรียญพระห้อยคอ ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมจะมีด้วยกันดังนี้
เหรียญบ้านปาง พิมพ์หน้าหนุ่ม เหรียญพระครูบาศรีวิชัย ลักษณะของเหรียญรุ่นนี้ พิมพ์มาจากรูปถ่ายครึ่งองค์ของครูบาฯ โดยในสมัยนั้นคาดว่าท่านมีอายุราว 59 ปี ลักษณะของพิมพ์รูปครูบาฯ ในบางเหรียญจะสวมประคำแบบเม็ด อีกเหรียญจะสวมประคำแบบเส้น แต่คาดว่าการสร้างเหรียญพระรุ่นนี้ สร้างเมื่อปี 2582 ซึ่งเป็นปีเดียวกัน กับที่ท่านมรณภาพ คิดว่าไม่น่าจะทันสมัย ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยในตอนนั้นมีการร่วมปลุกเสก จากสุดยอดเกจิหลายท่าน เชื่อว่าพุทธคุณโดดเด่นเรื่องแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ลักษณะเหรียญเป็น โลหะรูปไข่ มีหลายเนื้อ และมีมูลค่าสูง ในปัจจุบัน
เหรียญรุ่นบ้านปาง หน้าแก่ แม้อิริยาบถของครูบาจะเหมือนกัน แต่ลักษณะพิมพ์ใบหน้านั้น จะมีความต่างจากใบหน้าหนุ่ม เหรียญพระครูบาศรีวิชัย การแกะพิมพ์เป็นแบบนูนสูง คาดว่าเหรียญหน้าแก่ สร้างหลังจาก การออกเหรียญหน้าหนุ่ม มาก่อนหน้านี้แล้ว หากเปรียบเทียบมูลค่าด้านราคา ก็ย่อมราคาถูกกว่าเหรียญหน้าหนุ่ม ซึ่งคาดว่าน่าจะสร้าง เมื่อประมาณปี 2500 ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ แต่ไม่ว่าเหรียญรุ่นใด ก็ตามมั่นใจว่าเป็น เหรียญตาย หรือเหรียญที่สร้าง หลังจากท่านมรณภาพแล้วทุกรุ่น ซึ่งเคยมีผู้ที่แขวนพระห้อยคอของท่านแล้ว รอดจากอุบัติเหตุอย่างปาฏิหาริย์ ยิ่งส่งผลให้มูลค่า ของเหรียญรุ่นนี้ทวีคูณขึ้น
อินท์เฟือนสีวิเชยฺย พอพูดถึงเรื่องเหรียญตาย จึงอยากจะขอเสริมประเด็นที่น่าเศร้า ในช่วงท่านมรณภาพกันบ้าง เพราะไม่ใช่เพียงแค่หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เท่านั้นที่เกิดข้อพิพาท กับการชิงสังขาร แต่ในช่วงของหลวงพ่อคูณนั้น มีการทำพินัยกรรมไว้ จึงไม่สามารถที่จะทำตาม อำเภอใจของลูกศิษย์ได้ แต่ของ ครูบาศรีวิชัย นั้นชาวลำพูนกับชาวเชียงใหม่ ต่างต้องการนำสังขาร ของท่านไปทำพิธีเสียเอง จนสุดท้ายจึงต้องตั้งสังขารท่านไว้
ที่วัดบ้านปางเป็นเวลานานเกือบ 3 ปี และท่านไม่ได้รับโปรดเกล้า พระราชทานเพลิงศพ ด้วยตาลปัตรที่วาง ในงานจารึกคำว่า งานฌาปนกิจ และช่างล้านนาก็เป็น ผู้ทำโกศทรงแปดเหลี่ยม ให้กับท่านเองกับมือ ทว่ามันกลับทำให้หลายคน เข้าใจผิดคิดว่าท่านได้รับ โกศพระราชทานจากสยาม ด้วยรูปทรง
ที่แตกต่างจาก โกศใส่สังขารของ พระผู้ใหญ่ท่านอื่นในล้านนา แม้ไฟยังไม่มอดสนิท ประชาชนก็ได้เข้ามา แย่งชิงอัฐิของท่าน ซึ่งอัฐิที่เหลือที่สามารถรวบรวมได้ จึงถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน นำไปบรรจุไว้ ตามพุทธศาสนสถาน ในล้านนาทั้ง 7 จังหวัด เหรียญครูบาศรีวิชัยทุกรุ่น