พระกริ่ง พระกริ่งทั้งหมด เปิดตำนานการสร้างพระเครื่องยอดนิยมของไทย

พระกริ่ง ถือเป็นพระเครื่องที่โด่งดัง ในประเทศไทย นั่นเพราะเป็นการจำลอง พระพุทธรูปขนาดเล็ก ประทับบนฐานบัว เชื่อว่าพระเครื่ององค์นี้ เป็นปางหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าในลัทธิมหายาน เป็นพระเครื่อง ที่ได้รับความศรัทธา จากคนในบ้านเรา แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าที่จริงแล้ว พระเครื่องรุ่นนี้ไม่ได้มี

 

ต้นกำเนิด ในประเทศไทยเหมือนกับ พระเครื่องรุ่นอื่น ๆ ที่สำคัญคือเป็นพระเครื่อง ที่มาก่อนยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นพระเก่าแก่ แต่มากด้วยพุทธคุณ ที่นักสะสมรุ่นใหม่ ให้ความสนใจ ดูบอล 

พระกริ่ง

ที่มาของชื่อ “กริ่ง” ไม่ใช่เพราะมีเสียงกระพรวน แต่ชื่อนี้มีที่มา

เชื่อว่าหลายคน คงเข้าใจมาโดยตลอดว่า สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์จิ๋วนี้ ได้ชื่อว่า พระกริ่ง ก็เพราะในขณะที่รอองค์พระ จะมีการบรรจุเม็ดโลหะ เอาไว้ด้านใน เมื่อเขย่าดูก็จะมีเสียงดัง กรุ๊งกริ๊ง แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะที่มาของคำว่า “กริ่ง” ที่แท้จริงก็เนื่องมาจาก การหล่อพระ ซึ่งนายช่างผู้หล่อพระ

 

จะทำหุ่นของพระ แบบแยกชิ้น ลักษณะจะมีคล้ายกับ กิ่งไม้ โดยจะมีแกนกลาง 2 ข้างเป็นกิ่ง แล้วนำไปประกอบเป็นหุ่น ซึ่งมีขนาดเล็กใหญ่ ได้ตามความต้องการ ของผู้ศรัทธา นั่นจึงอนุมานได้ว่า ที่จริงแล้วชื่อของพระเครื่อง มาจากคำว่า “กิ่ง” และประกอบกับเสียง กระพรวนหรือเสียง “กริ่ง”

 

นี่เอง ในยามที่ใช้บูชาหรือ สวดมนต์ก็จะเขย่าองค์พระ เพื่อขอพร ยิ่งองค์พระเสียงดังกังวาน ยิ่งหมายความว่า พรที่ต้องการนั้น จะสัมฤทธิ์ผลอย่างแน่นอน พระกริ่ง ราคา

ต้นกำเนิดของพระเครื่อง มาจากแดนทิเบต

ตามตำรากล่าวว่า จุดเริ่มต้นในการสร้าง พระเครื่ององค์นี้นั้น มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ และ ประเทศทิเบต ต่อมาความนิยมนี้ ก็ได้แผ่ขยายไปยัง อาณาเขตเขมร ซึ่งจะเรียกว่า พระอุบาเก็ง หรือ พนมบาเค็ง พระปทุมสุริยวงศ์ ซึ่งพระองค์นี้ ในอาณาจักรขอม ถูกสร้างขึ้นอย่างแพร่หลาย

 

โดยเฉพาะสมัย ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเชื่อว่าพระเครื่ององค์นี้ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 จากนั้นจึงได้แพร่กระจาย เข้ามาในหมู่ชาวลาว และชาวไทย นั่นหมายความว่า มีการค้นพบหลักฐาน การสร้างพระปทุมสุริยวงศ์นี้ ก่อนที่จะมียุครัตนโกสินทร์

 

ในบางตำราก็ระบุว่า อาจจะมี ตั้งแต่ สมัยสุโขทัยเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระเครื่ององค์จิ๋ว กลายเป็นสมบัติล้ำค่า ที่มีความเชื่อมโยง ทางประวัติศาสตร์ ของอารยธรรมขอม หนองแส และไทย ส่องพระยอดนิยม

พุทธคุณและความนิยม ที่แพร่หลายในหมู่ชาวบ้าน

ด้วยมีลักษณะที่ ขนาดพระพุทธรูป แต่องค์เล็กพกพาได้ง่าย จึงทำให้พระเครื่ององค์นี้ กลายเป็นพระบูชา ประจำบ้าน ไปโดยปริยาย สามารถใช้ห้อยติดตัว เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ ในการเดินทาง ใช้ทำน้ำมนต์เพื่อเพิ่มสิริมงคล ให้กับคนในบ้าน หลายคนมักจะเรียกว่า พระชัย ซึ่งพระชัยนี้

 

ตามความเชื่อของคนโบราณแล้ว เชื่อว่าเป็นบรมครู ด้านการรักษา จึงใช้พระชัยอธิษฐานจิต แล้วแช่น้ำทำน้ำพุทธมนต์ จากนั้นจะให้สมาชิกในบ้าน ดื่มกินเพื่อรักษาโรคภัยต่าง ๆ ดื่มก่อนเดินทาง ก็จะช่วยให้แคล้วคลาด ปลอดภัย ซึ่งในพิธีสำคัญของ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็จะใช้

 

พระเครื่ององค์นี้ ในการทำน้ำพระพุทธมนต์ ด้วยเช่นกัน นั่นเพราะการสร้างองค์ พระจะสร้างด้วยนวโลหะ  ซึ่งเป็นโลหะมงคลทั้ง 9 ชนิดตามตำราโบราณ ซึ่งประกอบไปด้วย แร่เจ้าน้ำเงิน สังกะสี พลวง ชิน ดีบุก ปรอท ทองแดง เงิน และทองคำ ซึ่งแรกมวลสารเหล่านี้ ถือเป็นแร่ธาตุ

 

ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว และเมื่อผ่านการปลุกเสก ก็จะช่วยเพิ่มพุทธคุณ ให้กับวัตถุมงคลเหล่านั้น

พระกริ่ง

พระกริ่งกับการหล่อครั้งแรกในประเทศไทย

จะว่าไปแล้ว พระเครื่ององค์นี้ ก็มีหลายชื่อ เรียกขึ้นอยู่กับว่าสร้างขึ้น ณ ที่ใด ถ้าเป็นแถวทิเบต ก็จะเรียกว่าพระไภษัชยคุรุ โดยในการขอพร จะยกพระขึ้นมาเขย่าให้มีเสียงดัง แล้วตั้งจิตใจให้แน่วแน่ เมื่อเขมรสร้างผู้สร้าง คือพระปทุมสุริยวงศ์ ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น “กริ่งพระปทุม” นั่นหมาย

 

ความว่า ไม่ว่าจะสร้างขึ้น ในสมัยใด สร้างโดยใคร ชื่อขององค์พระ ก็จะมีคำว่า “กริ่ง” ประกอบด้วยเสมอ โดยเฉพาะรุ่นกริ่ง ชัยวัฒน์ ที่หล่อขึ้นมา เพื่อใช้เป็นพระพุทธรูปเครื่องราง โดยจะประดิษฐาน พระเครื่อง ไว้บนหลังช้างเพื่อหวยชัยให้ยามออกรบ นอกจากนี้ ก็ยังมี กริ่งพระปรมา

 

กริ่งปวเรศ ตามแต่ยุคสมัยที่มีการสร้าง แต่พุทธคุณที่โดดเด่น จะเน้นเรื่องการปัดเป่า อันตรายแคล้วคลาดปลอดภัยเหมือนกัน สำหรับการหล่อพระ ในครั้งแรกของประเทศไทย จะพูดถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ว่ากันว่าพระเครื่ององค์นี้ เป็นที่เล่าลือกัน เป็นอย่างมากว่าใช้ในการบำบัดโรค

 

ให้หายขาดได้ ซึ่งในสมัยนั้น สมเด็จพระมหาสมณ เจ้ากรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้มีการหล่อ องค์พระปวเรศขึ้น แล้วนำแจกจ่ายในจำนวนจำกัด แต่รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด ก็คือพระที่สร้างโดย สมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์) ในปี พ.ศ 2411 นั่นเพราะว่า

 

ใช้วิธีการสร้าง รวมถึงอิงตำราการสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตำราของ พระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ ที่เป็นสมบัติตกทอดกันมา ปัจจุบันนี้ไม่แน่ใจแล้วว่า ตำราสูญหายไปที่ใด

พุทธคุณที่ประจักษ์ชัด บรรเทาอาการอาพาธ สมเด็จพระวันรัต (แดง)

 

ในช่วงเวลาหนึ่ง อหิวาตกโรคได้มีการแพร่ระบาด อย่างหนัก ซึ่งสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑิต วัดสุทัศนเทพวราราม) อาพาธ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ไปเยี่ยม และ ทำน้ำพุทธมนต์ถวาย หลังจากสมเด็จพระวันรัตฉัน อาการอาพาธนั้น ก็ทุเลาลง จากนั้น

 

จึงมีการจัดสร้างพระเครื่อง ซึ่งประกอบด้วย ธาตุนวโลหะตามตำรา แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับ ผู้ที่มีจิตศรัทธา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ให้ผู้ป่วยในขณะนั้น ซึ่งองค์ พระกริ่ง พุทธคุณ มีจำนวนไม่เกิน 1500 องค์

 

ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบัน จึงมีแต่ผู้ที่แสวงหา พระเครื่ององค์จิ๋วรุ่นนี้ เพราะเชื่อว่า การดื่มน้ำพุทธมนต์ ของพระเครื่ององค์นี้ จะทำให้อาการป่วยโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย ทุเลาเบาบางลง หากประสบปัญหาในชีวิต ที่แก้ไขไม่ตก เพียงตั้งจิตอธิษฐาน แล้วเขย่าองค์พระ ให้เกิดเสียงดังกังวาน

 

ในช่วงเวลาสวดมนต์ พระพุทธองค์จะรับรู้ถึง ความต้องการอันแรงกล้า ของผู้อธิษฐานจิต และ ลงมาช่วยปัดเป่าทุกข์ภัย แม้ในปัจจุบันความปลอดภัย ในการดำเนินชีวิตรวมถึง เทคโนโลยีด้านการแพทย์ จะก้าวล้ำทันสมัยกว่าในอดีต แต่ความนิยม ความศรัทธา ในพระชัยยังคง

 

เหนียวแน่น เพราะเป็นเสมือนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ฝ่าฟันทุกวิกฤตการณ์ รวมถึงปัญหาที่กำลัง เผชิญไปได้อย่าง ตลอดรอดฝั่งนั่นเอง พระกริ่งชัยวัฒน์