พระคง พระคง ลําพูน แท้ เสาะประวัติ ที่มาของพระเครื่องเมืองล้านนา พระ กรุเก่า

พระคง พระเครื่องที่โด่งดัง และ ได้รับความนิยมจากคนไทย มาอย่างช้านาน ก็ต้องยกให้กับ ” พระคง ” พระกรุเก่า ควรค่าแก่การสะสม ดั้งเดิมต้นกำเนิด มาจากเมืองลำพูน มีพุทธคุณด้าน คงกระพันชาตรี ปัจจุบันมีสนนราคาที่ หลักแสนหลักล้าน เพราะยังคงความเข้มขลัง ด้านพุทธคุณ ที่สำคัญ

 

ไปกว่านั้น คือองค์พระยังคงความงาม มีลายเส้นแบบพิมพ์โบราณ และ ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ที่แม้จะมา จากกรุเดียวกัน มีลักษณะพิมพ์เดียวกัน แต่เมื่อกาลเวลากัดกร่อน ก็ทำให้องค์พระมีเนื้อที่ลึก มีรายละเอียด อีกหลายอย่าง ที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งคราบ ทั้งสี เดี๋ยวเราจะพาไปดูกันว่า พระเครื่ององค์นี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงยังคงได้ รับความนิยมสืบมา อนิเมะ

พระคง

พระคง ประวัติความเป็นมาอันน่าทึ่ง ที่หลายคนไม่เคยรู้

อาณาจักรล้านนาในอดีต เมืองหริภุญชัย นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ และ มีตำนานมาอย่างยาวนาน ว่ากันว่าในอดีตนั้น เมืองแห่งนี้ถูกสร้างขึ้น โดยฤาษีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 1,200 และในอีก 5 ปีถัดมา ก็มีการเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นธิดาของพระเจ้า จักรวรรดินิราศ แห่งเมืองละโว้มาเป็น กษัตริยาแห่งเมืองหริภุญชัย ซึ่งก็คือเมืองลำพูน ในปัจจุบันนี้เอง

 

ด้วยความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา กษัตริยาแห่งเมืองหริภุญชัย จึงได้สร้างวัด และ วัตถุทางศาสนา เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้กับประชาชน นั่นก็คือการสร้าง วัดสี่มุมเมือง เพื่อใช้คุ้มครองคิดทั้ง 4 ของลำพูน อันได้แก่

 

ทิศเหนือ วัดพระคงฤาษี

ทิศใต้ วัดประตูลี้

ทิศตะวันออก วัดดอนแก้ว

ทิศตะวันตก วัดมหาวัน

 

 

ซึ่งในวัดพระคงฤาษี บริเวณที่เป็นเจดีย์ จะปรากฏรูปของผู้สร้างเมือง ก็คือฤาษีทั้ง 4 ตน โดยจะประทับยืน ในซุ้มคูหา ซึ่งฤาษีทั้งสี่นี้ จะมีการจารึกชื่อไว้ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ระลึกถึง ที่นี่มีการค้นพบ พระคงทรงพระบาง ซึ่งเป็นพระชื่อดัง ในวงการพระเครื่อง ของเมืองไทย หลายคนเรียกว่า “พระลำพูน” และ พระเครื่องกรุนี้สันนิษฐานว่า มีการสร้างในสมัยเดียวกันกับ “พระรอด” และมีผู้สร้าง คนเดียวกันนั่นก็คือ “สุเทวะฤาษี”

พระคง

พระคง พุทธลักษณะของพระเครื่องเมืองลำพูน

สำหรับพระลำพูนกรุนี้ จะมีพุทธลักษณะที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ นั่นก็คือเป็นรูปพระนั่ง ขัดสมาธิเพชร คล้ายกับปางมารวิชัย แต่ภายในนั้น จะประดับด้วยซุ้มใบโพธิ์ ใบแตกคะแนนอ่อนพริ้ว ดูมีชีวิตชีวา บางคนบอกว่า เคยนับใบโพธิ์ที่พริ้วไหว ด้านหลังนั้น มีมากกว่า 20 ไปเลยทีเดียว แต่ถ้า

 

เจาะลึกลงไป ก็จะสามารถแยกได้ว่า โพนั้นมีทั้งหมด 6 กลุ่ม ซึ่งนั่นนับเป็น รายละเอียดส่วนลึก เหนืออาสนะของ ที่ประทับขึ้นไปนั้น มีฐานเม็ดบัว หรือเป็นจุดไข่ปลาจำนวน 2 ชั้น ใบหน้าขององค์พระนั้น ดูเอิบอิ่ม บริเวณอกอวบอูม โดยเนื้อของพระลำพูนนี้ เป็นเนื้อดินเผา ซึ่งมีหลายรุ่น ทั้งดินเผา

 

สีขาว สีเหลืองพิกุล ดินเผาสีแดง สีเขียว และสีดำ แต่รุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือพระรุ่นสีเขียว เพราะโทนสีดูลึกลับน่าค้นหา ควรค่าแก่การสะสม พระนางพญา

วิธีการสังเกตพระกรุเก่า และพระกรุอื่น ๆ ในวัดของลำพูน

หลายคนมักมองว่า พระลำพูนกรุเก่า ที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด ก็คือวัดพระคงฤาษี แต่ก็มีบ้างที่กระจายตัว ไปตามวัดอื่น ๆ ในเมืองลำพูน ซึ่งการค้นพบนี้ เกิดจากการที่ค้นพบพระกรุเก่า ที่แตกออกมาจากวัดพระคงฤาษี จึงมีการนำพระรุ่นหลัง ไปไว้ในวัดอื่น ๆ แต่ก็จะเรียกว่า พระกรุใหม่

 

ส่วนวิธีการจำแนกว่า รุ่นใดเป็นรุ่นเก่า หรือ รุ่นใหม่นั้น ต้องสัมผัสด้วยมือ เพราะพระกรุเก่า จะมาพร้อมเนื้อที่ละเอียด มีความนุ่มแต่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ยังสามารถสังเกตด้วยตาเปล่า โดยให้มองหาว่านดอกมะขาม ที่มีลักษณะเป็น จุดสีแดงขนาดเล็ก จะมีการกระจาย อยู่ตามผิวของพระเครื่อง แต่

 

ถ้าเป็นกลุ่มใหม่ แล้วก็เนื้อขององค์พระ จะค่อนข้างหยาบมากกว่า เพราะว่าดอกมะขาม และ แร่บางชนิดที่ผสมลงไป ในพระจะมีเนื้อหยาบ  สามารถสังเกตได้ชัดเจนกว่า พระกรุเก่านั่นเอง

พระคง

ลำพูน แหล่งกำเนิดของ พระเครื่องชื่อดัง

ต้องยอมรับว่า เมืองหริภุญชัยเป็นแหล่ง ให้กำเนิดพระเครื่องชื่อดัง หลายรุ่นที่มีลักษณะ ของศิลปะทวารวดี และศิลปะศรีวิชัย นั่นก็คือ พระรอด พระคง พระบาง พระลือ และ พระคงกรุใหม่ อีกหลายรุ่นเลยทีเดียว แต่ที่ทำให้หลายคนสับสน ก็คือพุทธลักษณะของ พระคงและพระบาง ที่มีความ

 

คล้ายคลึงกัน แต่คนส่วนใหญ่ จะเรียกพระประเภทแรกว่า พระลำพูน เพราะได้รับความนิยมสูงสุด และมีการค้นพบ หลายกลุ่มเลยทีเดียว นี่จึงกลายเป็น สัญลักษณ์ของ เมืองหริภุญชัยไปเสียแล้ว อีกทั้งพระรุ่นนี้ ยังเป็นตัวแทนหรือ สัญลักษณ์ที่สื่อถึง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

 

ที่นี้มาดูถึงความคล้ายคลึง ระหว่างพระลำพูน กับ พระบางกันบ้าง เพราะถ้าจะว่าไปแล้ว พุทธลักษณะภายนอก มีความคล้ายคลึงกันทีเดียว แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในความเป็นจริงพระบาง มาจากคำว่า “บัง” คาดว่าสร้างด้วย พระฤาษีตนเดียวกัน พระลักษณะของเนื้อมวลสาร และ พุทธลักษณะมี

 

ความใกล้เคียงกันกับ พระลำพูนจนแยกยาก  เพราะเป็นพระเครื่อง ที่แทนการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้าเช่นกัน อยู่ภายในซุ้มใบโพธิ์เหมือนกัน มีจุดไข่ปลา หรือ ฐานเม็ดบัวเช่นกัน แต่ให้สังเกตที่องค์ของพระบาง จะมีลักษณะที่อ่อนช้อย ดูอรชรอ้อนแอ้นมองดู คล้ายกับสตรี ใบหน้าค่อนข้าง ยาวรีเป็นรูปไข่ หน้าอกสูงคล้ายกับ หน้าอกของผู้หญิง ร่างกายดูโปร่ง แขนดูอ่อนช้อย งดงามไปอีกแบบ

พุทธานุภาพที่ทำให้หลายคน ต่างต้องการครอบครอง

นั่นเพราะพุทธคุณ ของพระขึ้นชื่อเรื่อง คงกระพันชาตรี ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็คือเมื่อถูกประทุษร้ายร่างกาย จะทำให้ผู้ที่พกพา มีความหนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า ซึ่งในอดีตคนไทย จะนิยมเรียนคาถาอาคม เพื่อใช้ในการป้องกันตัว และบางครั้งอาจ มีการลอบทำร้ายในกรณี ที่บาดหมางใจกัน หรือแม้แต่เดินทางไป ต่างจังหวัดก็มีความลำบาก และอาจจะเกิดเหตุ ที่ไม่คาดคิดระหว่างทางได้ การพกพระลำพูนเชื่อว่า ต่อให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหน้าคุณ

 

ก็จะ แคล้วคลาดปลอดภัย ไม่ได้รับบาดเจ็บทางกาย หรือ ถ้าได้รับก็จะไม่รุนแรง อย่างที่คิด แต่ปัจจุบันนี้การนิยมพระลำพูนนั้น ไม่ใช่เพียงเพื่อ เรื่องของพุทธคุณแค่อย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และ พุทธลักษณะที่งดงาม หายากในปัจจุบัน เปรียบเสมือนวัตถุโบราณสุดล้ำค่า ที่มีทั้งความงาม มีเรื่องราวที่น่าสนใจ และนับวันยิ่งได้รับ ความนิยมไม่มีแผ่วเลย คาถา บูชา พระ คง ลําพูน