พระสมเด็จอรหัง พระเครื่องเลื่องชื่อ มาแรงแห่งปี 2022

พระสมเด็จอรหัง ในวงการพระเครื่องเมืองไทย พระสมเด็จถือเป็นพระเครื่องชั้นครู ที่นักสะสมล้วนปรารถนา ที่จะได้มาครอบครอง ซึ่งพระสมเด็จที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และ มีราคาสูงที่สุด คือ พระสมเด็จที่สร้างโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี แต่ทั้งนี้นอกจาก พระสมเด็จดังกล่าวแล้วก็ยังมี “พระสมเด็จอรหัง” ที่ได้รับความนิยม และ มีราคาสูงใกล้เคียงกับ พระเครื่องของสมเด็จพุฒาจารย์โต เพราะพระสมเด็จ ทั้งสององค์นี้

 

มีลักษณะ เชิงพุทธศิลป์คตินิยม ในการจัดสร้างที่คล้ายคลึงกัน เป็นอย่างมาก เปล่าคือมีลักษณะรูปลักษณ์ เป็นพระเครื่องทรง สี่เหลี่ยมเนื้อผง มีซุ้มขอบ มีฐานพระ รวมไปถึง การใช้วัสดุจาก ปูนเปลือกหอย คล้ายกันอีกด้วย นอกจากลักษณะ ขององค์พระแล้ว พระสมเด็จองค์นี้ ยังมีประวัติที่มีความน่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง โหลดเกมส์

พระสมเด็จอรหัง

ประวัติที่มาของชื่อพระสมเด็จอรหัง

ด้วยลักษณะที่เป็น พระเครื่องทรงชิ้นฟัก มีรูปทรงเป็นแผ่นแบบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเชื่อกันว่าพระรุ่นนี้ เป็นต้นแบบของ สายพระเครื่องทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อว่าน เนื่องจากเป็นพระเครื่อง ที่ถูกสร้างขึ้น ในยุคก่อนพระสมเด็จ ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี อีกทั้งผู้สร้างยังเป็นพระภิกษุสงฆ์

 

ผู้ดำรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามว่า “สุก ญาณสังวร” ได้รับการแต่งตั้ง เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านมีประสูติกาล ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีในรัชสมัย ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

 

แต่เดิมท่านบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส อยู่วัดท่าหอย ริมคูจาม อยุธยา ซึ่งในกาลต่อมา ท่านได้รับอาราธนา จากพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพลับ โดยดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระญาณสังวร ซึ่งเป็นสมณศักดิ์ พระราชทานในระดับ พระราชาคณะ ด้วยสุปฏิปทาอันบริบูรณ์ พร้อมของสมเด็จพระสังฆราชสุก ญาณสังวร ทำให้

 

ชื่อเสียงของท่าน ได้รับการกล่าวขาน ว่าเป็นพระภิกษุ ผู้เชี่ยวชาญในด้าน เจริญกรรมฐาน มีพรหมวิหารอันเป็นเลิศ และเป็นผู้มีวิทยาคม อันแก่กล้า ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ ชัดมากที่สุดคือ ด้านเมตตามหานิยม ด้วยว่าท่าน สามารถเลี้ยงไก่เถื่อน หรือ ไก่ป่าที่มีความปราดเปรียว และ ไม่คุ้นกับผู้คน ให้กลายเป็นไก่ที่เชื่อง และฟังคำสั่งของท่าน

 

ด้วยเหตุนี้ ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง จึงถวายสมัญญานามลำลอง ให้แก่ท่านว่า พระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน อันมีที่มาจาก การเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่องของท่านนั่นเอง จากชื่อเสียง และ บารมีธรรมที่ได้รับการกล่าว การยกย่องศรัทธาของท่าน ทำให้มีการสร้างพระเครื่อง วัตถุมงคล เพื่อให้

 

พุทธศาสนิกชน กราบไหว้บูชาเป็นเครื่องพุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระเครื่องรุ่นแรก ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ญาณสังวร ถูกจัดสร้างขึ้น ในปีพุทธศักราช 2360 ใช้วัดพลับเป็น สถานที่ในการจัดสร้าง 3 ปีต่อมาก็มีการนำเอา พระเครื่องที่ถูกจัดสร้างเหล่านั้น ไปบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ทำให้พระที่จัดสร้างส่วนใหญ่ ถูกพบได้ในวัดนี้ และ ยังมีพระเครื่องบางส่วน ถูกค้นพบที่วัดสร้อยทองอีกด้วย

พระสมเด็จอรหัง

พระสมเด็จอรหัง ที่มาของชื่อสมเด็จอรหัง

สมเด็จอรหังนี้ มีที่มาของชื่อจาก สมณศักดิ์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “สมเด็จ” ของพระสังฆราชไก่เถื่อน ส่วนคำว่าอรหัง มีที่มาจากด้านหลัง ของพระสมเด็จรุ่นนี้ จะมีการจารคำว่า อรหังเป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่าผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งการจารอักขระลักษณะนี้ ไม่ได้ต้องการใช้เป็นหัวใจคาถา หรือ อักขระ

 

เลขยันต์ แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ ที่แท้จริงของการ สร้างพระเครื่อง ที่ต้องการให้เป็นตัวแทน ของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ที่พุทธศาสนิกชน จะได้ระลึกถึงนั่นเอง

 

นอกจากนี้ ด้วยลักษณะขององค์พระ ที่เป็นแบบกดพิมพ์หน้าเดียว อักขระด้านหลังองค์พระ จึงใช้วิธีการจารเมื่อพระเครื่อง กำลังหมาดแห้งตัว ทำให้พระ แต่ละองค์ จะมีลักษณะ ที่แตกต่างกัน ทั้งลายเส้นความตื้นลึกหนาบาง ของน้ำหนักลายเส้น นอกจากนี้ ยังมีพระเครื่องบางองค์ ที่ใช้เทคนิค

 

การปั๊มตราประทับ คำว่า “อรหัง” หรือบางองค์ ก็อาจจะไม่มีการ ทำเครื่องหมายใด ในบริเวณด้านหลังองค์พระ บางรุ่นที่ใช้ตราประทับ แบบหมึกสีแดง ซึ่งถูกบรรดาเซียนพระ และ นักสะสมเรียกว่า “พิมพ์โต๊ะกัง” ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะการสร้าง อักขระจารึกที่มีความแตกต่างกัน ทำให้พระเครื่องแต่ละองค์ จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ควรค่าแก่การสะสม พระคง

พระสมเด็จอรหัง

ด้านลักษณะและมวลสารที่ใช้สร้าง

ด้วยลักษณะพื้นฐาน พระสมเด็จรุ่นนี้ ที่ถูกสร้างขึ้นจาก การกดมวลสาร ลงบนแม่พิมพ์ด้านเดียว ทำให้ลายเส้น มีความคมชัดเฉพาะด้านหน้า ในส่วนด้านหลัง ก็จะยังคงปรากฏ ร่องรอยของ การบีบพิมพ์พระ มีลักษณะการกด และ บีบอัดมวลสาร ในบริเวณขอบ จะปรากฏร่องรอย การตัดขอบ

 

แบบดั้งเดิม ซึ่งจะนิยมตัดขอบ ในตอนที่พระเครื่องยังไม่แห้ง ทำให้ร่องรอยการตัดนั้น มีลักษณะอยู่ไว้เกิด มุมเอียงของขอบ หากสังเกตให้ดี จะเห็นร่องรอย การตัดอย่างชัดเจน ด้านหน้าในส่วนองค์พระ จะมีลักษณะ การแกะองค์พระพุทธรูป ที่ประทับนั่งสมาธิราบบนฐาน 2 และ 3 ชั้น

 

โดยจะมีซุ้มรอบองค์พระ เป็นลักษณะคล้ายกันครอบแก้ว ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ในด้านมวลสารสันนิษฐานว่า ในส่วนเนื้อขาวละเอียด ทำมาจากปูนเปลือกหอย ซึ่งเป็นปูนที่ได้จาก การเผาเปลือกหอย แล้วทิ้งให้เย็นตัว จะให้เนื้อสีขาวเนียนละเอียด

 

นอกจากนี้ยังมีพระบางรุ่น ที่เป็นเนื้อขาวหยาบ มีเม็ดทรายปน เนื้อขาวหยาบออกเขียว และเนื้อสีแดงเรื่อคาดว่า น่าจะเกิดจากการผสมปูน กับ พิมเสนลงไปในเนื้อพระ ทำให้ทำปฏิกิริยากัน จนเกิดเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ไปจนถึงสีส้ม ในส่วนของ พิมพ์พระสมเด็จอรหัง สามารถจำแนก ออกได้เป็น 8 พิมพ์

 

คือ พิมพ์ฐานคู่เนื้อขาว, พิมพ์ใหญ่ฐาน 3 ชั้นเนื้อขาวเกศอุ, พิมพ์ใหญ่ฐาน 3 ชั้นเนื้อขาว, พิมพ์เล็กมี ประภามณฑลเนื้อขาว, พิมพ์เล็กไม่มี ประภามณฑลเนื้อขาว, พิมพ์ชิ้นฟักเนื้อขาว, พิมพ์ฐานคู่เนื้อแดง และ พิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้นเนื้อแดง

 

ต้องยอมรับว่า พระสมเด็จ อรหัง เป็นพระเครื่อง ที่มีขนบในการสร้างคล้ายคลึง กับ พระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทั้งนี้เพราะ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน (ญาณสังวร) ผู้สร้างพระสมเด็จอรหัง ท่านเป็นอาจารย์ ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ทำให้พระเครื่อง

 

มีความคล้ายคลึงกัน รวมถึงด้านพุทธคุณ ก็มีลักษณะเป็น พระเครื่องครอบจักรวาล เป็นพระเครื่อง ที่มีคุณจินดามณี กล่าวคือมีพุทธคุณในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ ยังมีนัยยะแห่งคำสอน ที่แฝงไว้ในจารึก ด้านหลังองค์พระว่า “อรหัง” ซึ่งแปลว่า “ผู้ไกลจากกิเลส” เป็นปริศนาธรรม ให้ผู้ที่ได้ครอบครอง บูชาพระสมเด็จรุ่นนี้ นำไปตีความ และนำไปใช้เป็นหลักปรัชญา การดำเนินชีวิต ยังมีความสุขนั่นเอง