Wat Arun เปิดตำนาน วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
Wat Arun หนึ่งในวัดที่ขึ้นชื่อเรื่อง ความเก่าแก่ และ ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ปัจจุบันยังคงงดงาม ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม ก็ต้องยกให้วัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ( Wat Arun) วัดโบราณริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา
จึงไม่แปลกใจที่วัดแห่งนี้ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ความรุ่งเรือง ในอดีตที่ส่งผ่านมา ยังปัจจุบัน และทำให้นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ มาเที่ยวชมไม่ขาดสาย แล้วในวัดแห่งนี้ มีอะไรที่น่าดึงดูดบ้าง? บทความนี้เลย จะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก กับ วัดแจ้งแห่งนี้ แบบเจาะลึกทุกซอกทุกมุม ไม่แน่นะว่าบางมุม คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ มังงะ
1.ไฮไลต์ของวัดคือ ยักษ์! ใช้กระบองตีกันจนพื้นโล่งเตียน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งสิ่งที่ทำให้วัดอรุณ กลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวของคุณ ทั้งครอบครัว เพราะนอกจาก จะมีสถาปัตยกรรม ที่งดงามแล้ว ทางเข้าอุโบสถมียักษ์วัดแจ้ง ที่ทำหน้าขึงขังยืน เฝ้าประตูอยู่ ซึ่งยัดทั้ง 2 ตอนนี้ มีสีขาวกับสีเขียว สีขาวชื่อว่า สหัสเดชะ ส่วนสีเขียวก็คือ ทศกัณฐ์
ในอดีตเทคโนโลยี ยังไม่เจริญก้าวหน้า หลายคน จึงมีความใฝ่ฝัน ที่อยากจะไปเห็น รูปปั้นยักษ์ใหญ่สักครั้ง ว่ายักษ์ที่ออกมาจาก จินตนาการของใคร หลายคนนี้ จะมีรูปลักษณ์อย่างไร ตัวสูงใหญ่แค่ไหน ความพิเศษของยักษ์ทั้ง 2 ตนจะใช้ศิลปะ การปั้นแบบจีน นั่นก็คือ มีการใช้กระเบื้องเคลือบสี มาประดับนั่นเอง
แถมยักษ์วัดแจ้ง ก็ยังมีตำนานที่เกี่ยวพัน กับ การเกิดขึ้นของท่าเตียนอีกด้วย ว่ากันว่ายักษ์ 2 ตนนี้ไม่ถูกชะตากัน จึงใช้กระบองฟาดฟัน กันสร้างความเสียหาย ให้กับบริเวณโดยรอบ จนทำให้บริเวณเหล่านั้น โล่งเตียนกันระนาว และ กลายมาเป็นท่าเตียน ในภายหลัง วัดสุทัศน์
2.ที่มาของชื่อวัดอรุณ อรุณที่แปลว่า แจ้ง ที่อาจเข้าใจผิดมาโดยตลอด
ความพิเศษของภาษาไทย คือมักจะมีคำไวพจน์ หรือ คำพ้องความหมาย ให้เลือกใช้ที่หลากหลาย ก่อนหน้าที่จะมาเป็นวัดอรุณ หรือ วัดแจ้งนี้เดิมที วัดแห่งนี้ชื่อว่าวัดมะกอก แต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อ มาเป็นวัดแจ้ง ที่หมายถึง ความสว่างในรุ่งเช้า ก็เพราะว่าในสมัยที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงกอบกู้อิสรภาพ และ เสด็จทางชลมารค ตามแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมาถึงวัดมะกอก ก็อยู่ในช่วงเวลารุ่งเช้า หรือรุ่งแจ้งพอดี แต่เชื่อหรือไม่ว่า ชื่อของวัดแจ้งนี้ บางหลักฐานเล่าว่า ชื่อนี้มีมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย นั่นเพราะชื่อของวัดแจ้ง เคยไปปรากฏอยู่ในนิราศ เมืองเพชรบุรี สมัยนั้นประพันธ์ โดยกวีราชสำนักอยุธยา หม่อมภิมเสน ในวรรคที่ว่า
“..ถึงตัวไกลใจน้องยังผูกพัน จนไก่ขันกระชั้นเร่งรวีวร
เขาแจวเรือ มาจอดหน้าวัดแจ้ง แรงร้อนข้อนคิดขุ่นสมร
ประทับร้อน และ ถมอารมณ์ร้อน แต่ถอดถอนใจหาทุกนาที..”
จากนั้นเมื่อในสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้ให้เปลี่ยนคำเรียกขาน วัดแห่งนี้ใหม่เป็น วัดอรุณราชวราราม wat arun history
3.ประดิษฐานพระปรางค์ ทรงจอมแหที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แม้ปัจจุบันนวัตกรรม การก่อสร้างของประเทศไทย จะเป็นไปแบบก้าวกระโดด แต่เชื่อหรือไม่ว่า พระปรางค์เจดีย์ของวัดอรุณนี้ ถือเป็นพระปรางค์ทรง จอมแหที่สูงที่สุดในโลก เลยก็ว่าได้ โดยมีความสูงถึง 81.85 เมตร ซึ่งการสร้างพระปรางค์องค์นี้ ใช่ท่อนซุงถึง 20 ต้นซ้อนทับกันไปมา ซึ่งนี่ถือเป็น
ภูมิปัญญา ของชาวไทยโบราณ ที่ทำให้พระปรางค์ ตั้งต่างหากข้างแม่น้ำเจ้าพระยา หลายยุคหลายสมัย นอกจากจะใช้เป็นสถานที่ รวมใจของชาวไทย ในอดีตแล้ว การสร้างพระปรางค์ที่ใหญ่โต และ โดดเด่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยังเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ ของการเดินเรือ ให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้เห็น เป็นจุดนัดหมาย ที่มองเห็นมาแต่ไกล
Wat Arun4.วัดที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย-จีน
แม้ชื่อจะบ่งบอกว่า เป็นไทยแท้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว สถาปัตยกรรมที่งดงาม ของวัดอรุณ ที่เราเห็นกันนี้ มีความผสมผสาน ระหว่างไทยกับจีน ซึ่งพระปรางค์ของวัดอรุณนี้ ได้รับอิทธิพลขอมของอยุธยา มีการดัดแปลงกันมา อีกทอดหนึ่ง จึงมีความงดงาม และ เป็นพระปรางค์ ที่แตกต่าง
จากพระปรางค์องค์อื่น ความน่าสนใจ ขององค์พระปรางค์ ก็คือประดับประดา ด้วยเปลือกหอย ถ้วยชามเบญจรงค์ กระเบื้องเคลือบสลับสี ซึ่งเป็นสินค้านำเข้ามา จากประเทศจีน วัสดุเหล่านี้ ถูกนำมาทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้ววางประดับ ให้เป็นลวดลายแบบใหม่
5.มีนายทวารบาล ที่ยอมเผาตัวเอง เพื่อปกปักษ์พุทธศาสนา
กล่าวมาถึงตรงนี้ หลายคนฟังแล้ว อาจจะรู้สึกตกใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะมียักษ์ เป็นนายทวารแล้ว บริเวณอุโบสถ ด้านในก็ยังมีรูปปั้นบุคคล สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์นั่นก็คือ นายเรืองและนายนก ทั้งสองท่านนี้ ยอมสละตัวเอง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ทั้งคู่ได้เผาตัวตาย หวังจะปกปัก
รักษาพุทธศาสนา ให้คงอยู่คู่กับรัตนโกสินทร์ต่อไป การอุทิศตนครั้งนี้ ทำให้ชาวเมืองรู้สึกเลื่อมใส ต่อตัวบุคคล ทั้งสองนี้อย่างมาก จึงได้ร่วมกันทำบังสุกุล และ เก็บอัฐิของท่านทั้งสอง ไว้ที่ศาลาเปรียญเก่า ในภายหลังจึงได้ทำรูปปั้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึง โดยนายเรืองจะเป็นรูปปั้นสีทอง นั่งพับเพียบประนมมือ ส่วนนายนก จะนั่งขัดสมาธิ how to go wat arun
6.วัดอรุณ (Wat Arun) คือวัดเก่าแก่ ที่ไม่มีหลักฐานผู้สร้าง
เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เป็นอย่างมาก เมื่อมีการเปิดเผยว่า วัดแจ้งแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง ในสมัยโบราณ มีเพียงหลักฐานที่กล่าวว่า วัดแห่งนี้สร้างมาก่อน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199 ซึ่งเป็นวัดที่ปรากฏ ในแผนที่ของชาวฝรั่งเศส
อีกทั้งยังปรากฏหลักฐาน หลายอย่างเกี่ยวกับ วิถีชีวิตของชาวสยา มและ ชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดแจ้งแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี และยังเป็นวัด ที่มีความสำคัญต่อ พระมหากษัตริย์ หลายพระองค์ ทั้งพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นวัดประจำพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการบูรณะพระปรางค์ หน้าวัดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการปฏิสังขรณ์พร้อมอัญเชิญ บรมอัฐิของรัชกาลที่ 2 มาบรรจุไว้ที่นี่ พร้อมเปลี่ยนชื่อวัดใหม่
หากคุณอยากไปชื่นชม และ สัมผัสกับความงาม ทางด้านสถาปัตยกรรม ที่ทรงคุณค่า ของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกแห่งนี้ นอกจากจะเดินทาง ด้วยรถยนต์ หรือ รถโดยสารแล้ว การเดินทางทางเรือ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ ที่ทำให้บรรดานักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติ อยากมาสัมผัส เพราะสามารถนั่งเรือด่วนเจ้าพระยา มาเทียบท่าที่หน้าวัดอรุณ wat arun entrance fee ได้โดยตรง อีกทั้งยังเปิดให้เข้าเยี่ยมชม ได้ทุกวันตั้งแต่เช้าตรู่ 07.30 – 17.30 น.